ตัวบ่งชี้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทางเทคนิค (MA) จะแสดง ราคาเฉลี่ยในระยะเวลานั้นๆ ตัวบ่งชี้นี้จะถูกคิดคำนวณตามค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์ของราคาสินทรัพย์ในช่วงระยะเวลาที่ระบุมา หลังจากที่มีการเปลี่ยนเเปลงเกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวของราคา ข้อมูลโดยเแลี่ยนั้นจะไม่เพิ่มขึ้นก็ลดลงไป
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นมีสี่ประเภท: แบบธรรมดาหรือ ตามเลขคณิต , แบบเอ็กโปแนนเชี่ยว , แบบเรียบ และแบบเชิงเส้นค่าน้ำหนัก โดยตัวบ่งชี้ MA สามารถใช้ในการคิดคำนวณผลลัพธ์ของข้อมูลที่จะรวมทั้ง ราคาในช่วงเปิดและการปิด , ระดับสูงและระดับต่ำ, ปริมาณการเทรด หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวบ่งชี้อื่นๆ บางครั้งเทรดเดอร์อาจใช้งานค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่นๆก็ได้
หน้าที่หลักของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็คือ ค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักที่กำหนดให้กับข้อมูลสุดท้ายในชุด ดังนั้นแล้ว ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ แบบเรียบง่ายจะแสดงราคาที่มีค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักเท่ากันในระยะเวลาที่ระบุลงไป ส่วนค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กโปแนนเชี่ยว และแบบเชิงเส้นน้ำหนัก จะกำหนด ค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักที่มากกว่าจนถึงราคาล่าสุดในชุด
ตัวบ่งชี้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มักจะทำหน้าที่เป็นการปรับฐานระหว่าง การเคลื่อนไหว และการเคลื่อนไหวของราคา หากข้อมูลของ MA นั้นอยู่ต่ำกว่าราคาของตราสารการเทรด ต่อจากนั้นมันก็จะกลายเป็นสัญญาณสำหรับการซื้อ และในทำนองกลับกันอีกด้วย หากข้อมูลที่อ่านมาได้ของ MA นั้นอยู่เหนือราคา ก็ควรเริ่มต้นการเทรดด้วยการขาย
การเทรดบนค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นจะช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจโดยจะเกี่ยวข้องกับ การฟื้นตัวขึ้นมาในปัจจุบันของตลาด หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่ง พวกเขาจะทำการซื้อหลังจากที่ราคาได้เคลื่อนตัวชนระดับต่ำและ ขายหลังจากที่มูลค่าขยับตัวสูงขึ้นมา สำหรับแนวทาง MA นั้นสามารถใช้งานร่วมกับตัวบ่งชี้อื่ๆได้ด้วย โดยการปรับฐานจะเป็นเหมือนกันก็คือ หากตัวบ่งชี้เคลื่อนตัวอยู่เหนือกว่าข้อมูลของ MA ก็อาจจะเกิดการปรับตัวขึ้นมา และหากมันเคลื่อนตัวลงด้านล่างต่ำกว่าข้อมูล MA มันก็อาจจะปรับตัวลงมากกว่าเดิม
ประเภทของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ :
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา (SMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กโปแนนเชี่ยว (EMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเรียบ (SMMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นค่าน้ำหนัก(LWMA)
สูตรสำหรับการคิดคำนวณค่าเแลี่ยเคลื่อนที่ :
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา หรือ SMA
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา หรือแบบเลขคณิต นั้นจะคิดคำนวณโดยการเพิ่ม ราคาในช่วงปิดลงไปพร้อมกับระยะเวลาที่กำหนด อย่างเช่น 12 ชั่วโมง และทำการหารออกกับจำนวนรวมทั้งหมดของระยะเวลา
SMA = SUM (CLOSE, N)/N
SUM — the sum;
CLOSE (i) — ระดับราคาในช่วงปิดของระยะเวลาในปัจจุบัน;
N — จำนวนของระยะเวลา.
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กโปแนนเชี่ยวหรือ EMA
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กโปแนนเชี่ยว ั้นจะคิดคำนวณโดยการเพิ่มส่วนของราคาในช่วงปิดปัจจุบันลงไปในข้อมูล MA ก่อนหน้านี้ สำหรับ EMA นั้นราคาในช่วงปิดจะต้องสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนัก และนี้จะเป็นสูตรสำหรับการคำนวณ EMA:
EMA = (CLOSE (i)*P) + (EMA (i-1)*(100-P))
CLOSE (i) — ระดับราคาในช่วงปิดของระยะเวลาในปัจจุบัน;
EMA (i-1) — ข้อมูล MA ของช่วงที่ผ่านมา ;
P — ค่าเปอร์เซ็นต์ของข้อมูลด้านราคาที่ใช้งาน
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเรียบหรือ SMMA
สูตรสำหรับการคิดคำนวณ ข้อมูลแรกของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเรียบนั้นจะเหมือนกับสูตรที่ใช้ในการคิดคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา
SUM1 = SUM(CLOSE, N)
SMMA1 = SUM1/N
ข้อมูลส่วนที่สอง และหลังจากนั้นจะคิดคำนวณตามสูตรดังต่อไปนี้ :
SMMA (i) = (SUM1-SMMA1+CLOSE (i))/N
SUM — ผลรวม;
SUM1 — ผลรวมของราคาในช่วงปิดตามระยะเวลาของ N ที่เริ่มต้นจากขอบเส้นก่อนหน้านี้ ;
SMMA (i - 1) — ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเรียบของเส้นขอบก่อนหน้านี้ ;
SMMA (i) — ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเรียบของเส้นขอบในปัจจุบัน (ยกเว้นแต่เส้นแรก);
CLOSE (i) — ราคาปิดในปัจจุบัน ;
N — ระยะเวลาของการปรับตัวเรียบ
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นค่าน้ำหนัก หรือ LWMA
ในส่วนของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นค่าน้ำหนัก นั้นจะมีการกำหนดข้อมูลในชุดล่าสุดออกมาให้มากกว่าค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนัก ส่วนราคาก่อนหน้านี้จะมีน้ำหนักที่น้อยลงมา สำหรับ LWMA จะคิดคำนวณโดยการคูณราคาในช่วงปิดแต่ละอันไปจากค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักนั้นๆ
LWMA = SUM (Close (i)*i, N)/SUM (i, N)
SUM — ผลรวม;
CLOSE(i) — ราคาในช่วงปิดปัจจุบัน ;
SUM (i, N) — ผลรวมของค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนัก;
N — ระยะเวลาของการปรับตัวเรียบ
The InstaForex Analyst Team
GK InstaFintech © 2007-2025